วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์

                เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอย2ฝา แมลงสาบ
 
            1. เซลล์แบบยูคาริโอต (eukaryotic cell) คือเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ในไซโทพลาสซึมมีออร์แกนเนลล์ต่างๆ กระจายอยู่ 
            2. ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์ เรียกว่าเซลล์สัตว์ ทำให้เซลล์มีลักษณะอ่อนนุ่มและแตกต่างไปจากเซลล์พืช เซลล์เหล่านี้จะมารวมกันเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งพบว่าเซลล์ในเนื้อเยื่อมักมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน มีการประสานการทำงานระหว่างกัน สัตว์ชั้นสูงมีเนื้อเยื่อหลายชนิดสามารถจำแนกตามหน้าที่และตำแหน่งที่อยู่ของร่างกายเป็น 5 ประเภท คือ เนื้อเยื่อบุผิว(epithelial tissue) เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ(muscular tissue) เนื้อเยื่อลำเลียง (vascular tissue) และเนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue) 
            3. สร้างอาหารเองไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นการดำรงชีวิตจึงต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหารซึ่งอาจเป็นพืชหรือสัตว์ด้วยกัน การดำรงชีวิตจึงมักเป็นแบบผู้ล่าเหยื่อหรือปรสิตเสมอ
            4. โดยทั่วไปเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีบางชนิดพบว่าเมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วเกาะอยู่กับที่ 
            5. โดยส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระบบประสาท มีอวัยวะรับความรู้สึกและตอบสนอง เช่น การกินอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ เป็นต้น
            6. ร่างกายสัตว์ต้องมีการกำจัดของเสียที่เกิดจากการเมตาบอลิซึมของเซลล์ ( ได้เเก่ คาร์บอนไดออกไซด์ เเละของเสียไนโตรเจน ) ออกจากร่างกาย สัตว์ขนาดใหญ่จะมีระบบทำหน้าที่เฉพาะ


สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ไฟลัม คือ


1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) Porifera มาจากภาษาละติน (porudus + ferre = pore + bearing) หมายถึงสัตว์ที่มีรูพรุน สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ฟองน้ำ (sponge) มีช่องว่างภายในลำตัว (spongocoel) น้ำจะผ่านเข้าทางรูพรุน (ostium) ซึ่งมีอยู่ทั่วตัวสู่ช่องว่างภายในลำตัวและผ่านออกจากตัวทางช่องน้ำไหลออก (osculum) โดยฟองน้ำส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็มพบประมาณ 10, 000 สปีชีส์ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดพบประมาณ 50 สปีชีส



          ลักษณะสำคัญ 
        1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (Asymmetry)
        2. มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวหรืออิพิเดอร์มีส ส่วนชั้นในประกอบด้วย
เซลล์พิเศษเรียกว่า Choanocyte หรือ Collar cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแฟลกเจลลา 1 เส้นและ มีปลอกคอ (collar) บุอยู่โดยรอบเรียกเซลล์ชั้นนี้ว่า gastral layer
        3. ทางเดินอาการเป็นแบบช่องร่างแห (Channel network) ซึ่งประกอบด้วยรูเปิดเล็กๆ (ostia) ที่บริเวณผิวลำตัวรอบตัว ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าภายในตัวและมีรูขนาดใหญ่ (osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลออกจากตัว
        4. ไม่มีระบบหมุนเวียน ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย และระบบประสาทโดยเฉพาะ โดยทั่ว
ไปอาศัยการไหลเวียนของน้ำเป็นกระบวนการสำคัญในกระบวนการเหล่านี้
        5. มีโครงร่างภายใน (Endoskeleton) เรียกว่าหนามฟองน้ำ (spicule) ซึ่งมักจะเป็นสารพวกหินปูนหรือแก้ว (silica) บางชนิดมีโครงร่างเป็นพวกใยโปรตีน(spongin) ทำให้ตัว
ฟองน้ำมีลักษณะนุ่มนิ่ม
        6. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้างสเปิร์มและไข่ผสมกัน และจะได้ตัวอ่อนที่มีขนซีเลียว่ายน้ำได้ และต่อมาก็หาที่เกาะ
เจริญเป็นฟองน้ำเต็มวัยต่อไป

2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterata)  สัตว์ที่อยู่ในไฟลัมนี้ เรียกว่า ซีเลนเทอเรต (Coelenterate) ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล เช่น ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน มีเพียงส่วนน้อยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา แมงกระพรุนน้ำจืด 


         ลักษณะสำคัญ 
         1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) 
         2. มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวเรียกว่า เอพิเดอร์มิส (Epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นในทำหน้าที่เป็นเยื่อบุทางเดินอาหารเรียกว่า แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นในมีสารซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้น แทรกอยู่เรียกว่าชั้นโซเกลีย (Mesoglea) 
         3. ทางเดินอาหารเป็นแบบถุงไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนักช่อง ทางเดินอาหารนี้อยู่กลางลำตัวทำหน้าที่เป็นทั้งทางเดินอาหารและ ระบบหมุนเวียน เรียกว่าแกสโทรวาสคูลาร์ คาวิตี (Gastrovascular carvity)
         4. มีเข็มพิษหรือเนมาโทซีสต์(Nematocyst)ใช้ในการป้องกันและฆ่า เหยื่อเนมาโทซีสต์มักจะอยู่กันหนาแน่นที่บริเวณหนวด(Tentacle) ซึ่งอยู่รอบปากมากกว่าบริเวณอื่นๆทำให้การหาอาหารและการต่อสู้กับ ศัตรูมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 
         5. ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายโดยเฉพาะ แต่โดยทั่วไปอาศัยการแพร่ของก๊าซและของเสียต่างๆระหว่างน้ำที่ อยู่รอบๆตัวกับผิวลำตัวโดยตรง หรือมีเซลล์ชนิดพิเศษเช่นเซลล์ ที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร (nutritive cell) ช่วยทำหน้าที่ ย่อยและดูดซึมสามอาหาร เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป 
         6. ระบบประสาทเป็นแบบข่ายใยประสาท(Nerve net)แผ่กระจายทั่วตัว และหนาแน่นบริเวณหนวดดังนั้นการนำกระแสประสาทจึงเป็นไปใน ลักษณะทุกทิศทุกทางทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้ช้าและมีทิศ ทางไม่แน่นอนซึ่งแตกต่างจากสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ 
         7. สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างเป็น 2 แบบ คือ รูปร่างแบบต้นไม้เรียกว่า โพลิป (Polyp) เช่น ไฮดรา ปะการังดอกไม้ทะเลและรูร่างคล้ายร่มหรือกระ ดิ่งคว่ำ เรียกว่า เมดูซา(Medusa) ได้แก่แมงกระพรุน 
         8. การสืบพันธุ์ มีทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศแบบอาศัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มาผสมกันส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศโดยการแตกหน่อหรือการ แบ่งตัว ซีเลนเทอเรตหลายชนิด เช่น แมงกะพรุน โอบีเลียมีการสืบพันธุ์แบบสลับ (Alternative of generation) โดยมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวหรือ แตกหน่อกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มา ผสมกัน สัตว์ในกลุ่มนี้จัดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปะการัง เพราะปะการัง สามารถสร้างโครงร่างภายนอกซึ่งเป็นสารจำพวก หินปูนได้และโครงหินปูนเหล่านี้รวมกันมากๆกลายเป็นแนวหินปะการังซึ่ง ให้ความสวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นที่ท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยวมา ชมปีละมากๆเช่น หินปะการังที่เกาะล้านนอกจากนี้แนวหินปะการังยังมี ความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะแนวหินปะการังเป็นที่อยู่อาศัยที่ หลบภัย ที่หาอาหาร ที่ผสมพันธุ์และการเจริญของตัวอ่อนของสัตว์ทะเล หลายชนิดก็อาศัยแนวหินปะการังเป็นแหล่ง ที่อาศัยและที่เจิญเติบโต ดังนั้นแนวหินปะการังจึงมีสัตว์ต่างๆมาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมซึ่ง ลักษณะอันนี้จัดเป็นระบบนิเวศที่สำคัญและเป็นสมดุลธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากเพราะแนวหินปะการังถูก ทำลายอย่างมาก

3. ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda)  สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่า หนอนตัวกลม(Round worm) หรือเนมาโทด (Nematode)


          ลักษณะสำคัญ
         1. มีสมมาตรแบบ bilateral symmetry
         2. มีช่องว่างในลำตัวแบบเทียม (Pseudocoelomate animal) โดยช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อ ชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นใน ช่องลำตัวเทียม (psudocoelom) หนอนตัวกลมเป็นสัตว์ที่มี ช่องลำตัวเทียม ซึ่งมีการพัฒนาช่องระหว่างผนังลำตัวและท่อทางเดินอาหาร โดยที่เป็นช่องตัวที่เจริญมาจาก blastocoel ของระยะเอมบริโอ ช่องตัวชนิดนี้จะไม่มีเยื่อ peritoneum ซึ่งเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง อวัยวะภายในช่องตัวจึงลอยอย่างอิสระในของเหลว
         3. ลำตัวกลมยาว แหลมหัวแหลมท้าย ไม่มีข้อปล้อง ผิวลำตัวเรียบ มีสารคิวติเคิลหนาหุ้มตัว
         4. ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด แต่ใช้ของเหลวในช่องว่างเทียมช่วยในการลำเลียงสาร
         5. ไม่มีอวัยวะหายใจโดยเฉพาะ พวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน แต่พวกที่อยู่อย่างอิสระใช้ผิวหนังในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
         6. ระบบขับถ่ายประกอบด้วยเส้นข้างลำตัว (lateral line) ซึ่งภายในบรรจุท่อขับถ่าย (excretory canal) ไว้
         7. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยปากและทวารหนัก
         8. มีระบบกล้ามเนื้อยาวตลอดลำตัว 8.ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอยและมีแขนงประสาทแยกออกทางด้านท้องและทางด้านหลัง
         9. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอยและมี แขนงประสาทแยกออกทางด้านท้องและทางด้านหลัง
        10. เป็นสัตว์แยกเพศ ตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เนื่องจากตัวเมียต้องทำหน้าที่ในการออกไข่ 

4. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)  สัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้เรียกว่าสัตว์ขาข้อ หรืออาร์โทรพอด (Arthropod) ซึ่งหมายถึงมีรยางค์ต่อกัน เป็นข้อๆ สัตว์กลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด ประมาณ1,200,000 ชนิด หรือกว่า 80% ของอาณาจักรสัตว์ พวกอาร์โทรพอดมีความสำพันธ์กับพวกแอนเนลิดมากโดยเจิญมาจากพวกแอนเนลิด


               ลักษณะสำคัญ 
           1. มีสมมาตรแบบผ่าซีก 
           2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และมีช่องตัวแบบแท้งจริง 
           3. ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง และแบ่งออกเป็นส่วนๆโดยทั่วไปแล้วมี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว(Head) ส่วนอก( Thorax) และส่วนท้อง(Abdomen) เช่นพวกแมลง แต่บางชนิดส่วนหัวและส่วนอกจะรวมกันเป็นส่วนเดียวแยกออกจากกันไม่ได้เรียกว่า เซฟาโลทอแรกซ์ (Cephalothorax) เช่น กุ้ง ปู นอกจากนี้ในพวกกิ้งกือและ ตะขาบส่วนของอกและท้องจะมีลักษณะเหมือนกัน 
            4. มีรยางค์ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ๆ เช่น ขาเดิน ขาว่ายน้ำ อวัยวะส่วนปาก หนวด ปีก และรยางค์เหล่านี้มักมีลักษณะต่อกันเป็นข้อๆด้วย 
            5. มีโครงร่างภายนอก (Exoskeleton) เป็นสารจำพวกไคทิน(Chitin) แข็งหุ้มรอบตัว ดังนั้นในขณะที่มีการเจริญเติบโต สัตว์ในไฟลัมนี้หลายชนิดจึงต้องมีการลอกคราบ (Molting) เพื่อเอาเปลือกเก่าซึ่งมีขนาดเล็กออกเล็กแล้วสร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าขึ้นมาแทน 
            6. ทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์ มีปากและทวารหนัก สำหรับส่วนปากมีอวัยวะที่ช่วยในการกินอาหารและมีการดัดแปลงไปเพื่อให้เหมาะสมกับ สภาพของอาหาร เช่นมีปากแบบกัดกิน ดูดกิน เจาะดูด เป็นต้น 
            7. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circutory sysytem) โดยเลือดเมื่อออกจากหัวใจเทียม (Pseudoheart) แล้วจะไหลไปตามเส้นเลือด ต่อจากนั้นจะไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัว (Hemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก จะเห็นได้ว่าเลือดไม่ได้อยู่ภายในหัวใจและเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะที่เลืออดไหลออกมาอยู่นอกเส้นเลือด จึงเรียกระบบการหมุนเวียนแบบนี้ว่า ระบบเปิด นอกจากนี้ สัตว์กลุ่มนี้อามีเลือดเป็นสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสีเนื่องจากสาร เฮโมไซยานิน (Hemocyanin) เป็นองค์ประกอบหรือมีสีแดงเนื่องจากเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นองค์ประกอบ 
           8. มีระบบขับถ่ายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่ม เช่น แมลงมี มัลพีเกียน ทูบูล (Malpighain tuble) ซึ่งเป็นท่ออยู่ที่ทางเดินอาหารเป็นอวัยวะขับถ่าย กุ้งมีกรีนแกลนด์ หรือต่อมเขียว (Green gland) ที่โคนหนวดทำหน้าที่ขับถ่าย 
            9. ระบบหายใจประกอบด้วยอวัยวะหาบใจหลายชนิดในพวกที่อยู่ในน้ำเช่น พวกกุ้ง ปู หายใจด้วยเหงือก (Gill) พวกแมลงหายใจได้ด้วยระบบท่อลม (Tracheal system) ที่แทรกอยู่ทั้งตัว แมงมุมหายใจด้วยบุคลัง (Book lung) ที่บริเวณส่วนท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆซ้อนกันอยู่หลายชั้นเป็นต้น 
           10. ระบบประสาทมีปมประสาทที่หัว 1 คู่ และมีเส้นประสาททางด้านท้อง (Ventral nerver cord) ทอดไปตามความยาวของลำตัว 1 คู่และมีอวัยวะสัมผัสเจริญดี เช่น ตาเดี่ยว ตาประกอบ หนวด ขาสัมผัสเป็นต้น 
           11. ระบบสืบพันธุ์เป็นสัตว์แยกเพศ มักมีการปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นไข่ที่มีไข่แดงมาก ในขณะที่มีการเจิญเติบโตมักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปด้วย

5. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)  ากที่คาดว่าโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตมากกว่า 50 ล้านชนิด เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อแล้ว 1.7 ล้านชนิด เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง 43,853 ชนิด ชนิด ที่พบได้ในประเทศไทยและตั้งชื่อแล้ว 4,094 ชนิด นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก และมนุษย์อย่างยิ่ง 
             สิ่งมีชีวิตในไฟลัมคอร์ดาตาทั้งหมดเป็นสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เองและต้องการใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน พวกคอร์เดตโดยทั่วไปจะมีบางลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่บางลักษณะก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilaterally symmetrical) ร่างกายมีลักษณะเป็นปล้อง และมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น การเกิดช่องตัวเป็นแบบเอนทีโรซีลา (enterocoela) เช่นเดียวกับพวกเอคไคโนเดิร์ม (เป็น Deuterostromes เช่นเดียวกับเอคไคโนเดิร์ม) มีระบบอวัยวะที่แบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบปิดโดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย และมีเพศแยกกันเป็นต้น 

                 
                  
                  ลักษณะที่สำคัญ 
                 1. การมีโนโตคอร์ด (notochord) พวกคอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโนโตคอร์ดอย่างน้อยช่วงหนึ่งของชีวิต พวกคอร์เดตชั้นต่ำ เช่น แอมฟิออกซัสจะมีโนโตคอร์ด ตลอดชีวิต พวกคอร์เดตชั้นสูงเช่นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีโนโตคอร์ดในระยะตัวอ่อนเท่านั้น พอเจริญเติบโตจะเกิดกระดูกสันหลังขึ้นมาแทนที่โนโตคอร์ด ลักษณะของโนโตคอร์ดจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์ม ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ค่อนข้างอ่อนคล้ายวุ้น แต่มีเปลือกหุ้ม (sheath) หุ้มอีกชั้นทำให้มีลักษณะเป็นแท่งแข็งแรง แต่ยืดหยุ่นได้ดี และไม่แบ่งเป็นปล้อง แท่งโนโตคอร์ดเป็นโครงสร้างค้ำจุนที่อยู่ทางด้านหลังใต้ระบบประสาทส่วนกลางแต่อยู่เหนือทางเดินอาหาร notochord = a rod-shaped supporting axis, or backbone 
                 2. การมีช่องเหงือก (pharyngeal gill slits) คอร์เดตทุกชนิดโดยเฉพาะพวกที่อยู่ในน้ำจะมีช่องเหงือกตลอดชีวิต ส่วนพวกที่อาศัยอยู่บนบกจะพบช่องเหงือกในระยะตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ช่องเหงือกจะปิดซึ่งอาจจะพบร่องรอยเพียงเล็กน้อย (ในคนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นท่อยูสเตเชียนเชื่อมระหว่างหูส่วนกลางกับหลอดลมบริเวณคอ) การเกิดช่องเหงือกจะเกิดขึ้นในบริเวณคอหอยของตัวอ่อน โดยบริเวณคอหอยจะโป่งออกไปนอกผิวตัวทางด้านข้างและมีรอยแตกเป็นช่องเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะหายใจ พวกแอมฟิออกซัส ปลาปากกลม ปลาฉลาม ตลอดจนปลากระดูกแข็งจะดูดน้ำเข้าทางปากและผ่านออกทางช่องเหงือก ทำให้เกิดการหายใจขึ้น พวกสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่บนบกและหายใจด้วยปอดจะมีช่องเหงือกในระยะตัวอ่อน และ (อาจจะ) ทำหน้าที่หายใจในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น 
                 3. การมีระบบประสาทด้านหลัง (Dorsal Hollow Nerve Cord) คอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโครงสร้างนี้ตลอดชีวิตมีลักษณะเป็นท่อยาวตลอดลำตัวทางด้านหลัง เส้นประสาททางด้านหัวอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นสมอง ส่วนทางด้านท้ายเจริญเป็นไขสันหลัง (spinal cord) การเกิดระบบประสาทนี้เกิดขึ้นในระยะตัวอ่อน โดยการม้วนตัวเข้าหากันของเนื้อเยื่อชั้นเอคโตเดิร์มทางด้านหลังกลายเป็นท่อฝังอยู่ใต้ผิวหนัง

6. ไฟลัมเอชิโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)  (Greek Roots ; Echinos=spiny + Derma=Skin + Ata=to Bear)สัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้เป็นสัตว์ที่มีผิวลำตัวขรุขระเรียกว่าพวกเอคไคโนเดิร์ม(Echinoderm) มีลักษณะสำคัญดังนี้


               ลักษณะที่สำคัญ 
            1. มีสมมาตรเป็น 2 แบบ คือ เมื่อเป็นตัวอ่อนมีสมมาตรเป็นแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry) แต่เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยมีสมมาตรเป็นแบบรัศมี (Radial symmetry)
            2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นนอกประกอบด้วยผิวที่ขรุขระ ภายในมีโครงร่าง (endoskeleton) เป็นชิ้นหินปูนขนาดเล็กต่อกัน ทำให้เคลื่อนไหวได้บางชนิดเป็นแผ่นแข็ง ทำให้เคลื่อนไหว ไม่ได้ โครงร่างภายในนี้เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm)
            3. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยปากและทวารหนัก ยกเว้นบางชนิด เช่น ดาวเปราะ (brittle star) มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก
           4. มีระบบทางเดินน้ำ (Water vascular system) อยู่ภายในลำตัวและมีเท้าท่อ (tube feet) ช่วยในการเคลื่อนที่โดยการประสานการทำงานของเท้าท่อและระบบน้ำเข้าด้วยกัน
           5. ระบบหมุนเวียนไม่ค่อยเจริญมากนัก มีเหงือกที่ผิวลำตัว (Dermal branchia) ช่วยในการหายใจ
           6. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวนรอบปากและมีข่ายใยประสาท (nerve net) แพร่กระจายทั่วตัวรวมทั้งแทรกเข้าไปในแฉกด้วย
           7. เป็นสัตว์แยกเพศและมีอวัยวะสืบพันธุ์เจริญดีมาก มีการปฏิสนธิภายนอกตัวและมีการ เจริญเป็นตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยเป็นอย่างมาก
           8. สัตว์ในไฟลัมนี้อาศัยอยู่ในทะเลทั้งหมด

7. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes)  Platyhelminthes มาจากภาษากรีก (platy + helminth = flat worm) หมายถึงหนอนที่มีลำตัวแบน ได้แก่พวกหนอนตัวแบน ชื่อสามัญ flat worm มีทั้งที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ เรียกหนอนตัวแบน และพวกที่เป็นพยาธิในสัตว์อื่น เรียกพยาธิตัวแบน โดยสัตว์ในไฟลัมนี้อาศัยอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และบริเวณพื้นดินที่มีชื้นสูง พบประมาณ 20,000 สปีชีส์


             ลักษณะสำคัญ 
            1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
            2. ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animal) เนื่องจากเนื้อเยื่อชั้นกลางมีเนื้อเยื่อหยุ่นๆบรรจุอยู่เต็มไปหมด
            3. ไม่มีข้อปล้อง แต่บางชนิด เช่น พยาธิตัวตืด มีข้อปล้องแต่เป็นข้อปล้องที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ ผิวลำตัวเท่านั้น
            4. พวกที่ดำรงชีวิตแบบพยาธิ (Parasitic type)จะมีสารคิวติเคิล(cuticle)ซึ่งสร้างจากเซลล์ที่ผิวของลำตัวหุ้มตัวเพื่อป้องกัน อันตรายซึ่งจะเกิดจากน้ำย่อยของผู้ที่มันเป็นปรสิตอยู่ (Host) ทำอันตราย แต่ในพวกที่ดำรงชีพแบบอิสระ(Free living type) จะไม่มีสารคิวติเคิล
หุ้ม แต่จะ มีเมือกลื่นๆแทนเพื่อช่วยให้เคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น
            5. ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง
            6. ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจโดยเฉพาะ ในพวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic respiration) ส่วนในพวกที่ดำรงชีวิตแบบอิสระ หายใจแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration) โดยใช้ผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
            7. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก และทางเดินอาหารแตกแขนงออกเป็น 2-3 แฉก ในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร
            8. ระบบระบบขับถ่ายใช้เซลล์ชนิดพิเศษเรียก เฟลมเซลล์ (Flame cell)ซึ่งแทรกอยู่ทั่วลำตัว ทำหน้าที่สกัดของเสียและขับของเสียออกทางท่อที่อยู่ 2 ข้างลำตัว (Excretory canal)
            9. มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปทางด้านข้างของลำตัว
           10. ระบบสืบพันธุ์ จัดเป็นพวกกระเทย (Hermaprodite) คือมีทั้ง 2 เพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ในตัวเอง (self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (cross
fertilization)

8. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)  Mollusca มาจากภาษาละติน (molluscus = soft) แปลว่า นิ่ม หมายถึงลำตัวนิ่ม จึงเรียกสัตว์ลำตัวนิ่ม ซึ่งมักจะมีเปลือก (shell) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง เป็นสารพวกแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) หรือบางชนิดเปลือกก็ลดรูปไปเป็นโครงร่างที่อยู่ภายในร่างกาย ช่องลำตัว (coelom)ตั้งแต่ยุคพรีแคมเบรียนที่ผ่านมา สัตว์ที่มีโครงสร้างของร่างกายที่ซับซ้อนที่สุด ได้แก่ พวกที่ไม่มีช่องตัว แต่มันจะประสบปัญหา ในการหาอาหารจากพื้นผิวที่เหยื่อฝังตัวอยู่ ดังนั้นสัตว์ใด ๆ ที่สามารถปรับตัวให้สามารถใช้ร่างกายให้เป็นประโยชน์มากที่สุดในการล่าเหยื่อ สัตว์เหล่านั้นก็จะประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่นในกลุ่มที่มีของเหลวภายในร่างกายบรรจุอยู่ในช่องว่างของลำตัว จะทำให้ร่างกาย มีโครงร่างค้ำจุนชนิดที่เป็นของเหลว ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพสัตว์ยุคโบราณมีการปรับตัว  โดยที่มีของเหลวเข้าไปบรรจุอยู่ในช่องลำตัวในเนื้อเยื่อชั้นกลาง ซึ่งหมายถึงช่องว่างนี้ถูกบุด้วยเยื่อชั้นกลางที่จะกลายเป็นเยื่อบุช่องท้อง การพัฒนาขอ งช่องตัวนี้ นับเป็นก้าวใหญ่ของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากพวกที่มีช่องลำตัวเทียมกลายมาเป็นพวกที่มีช่องตัวแบบต่าง ๆ ในที่สุด 

 

                  ลักษณะสำคัญ
                 1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
              2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ช่องตัวเป็นแบบแท้จริง (Eucoelomate animal)
              3. ลำตัวอ่อนนุ่มไม่มีปล้องโดยทั่วไปแล้วมีแมนเทิล (mantle) ทำหน้าที่ในการสร้างเปลือกซึ่งเป็นสารจำพวกหินปูน (CaCO3)  แต่บางชนิดอาจไม่มีเปลือกเช่น พวกทากทะเล
              4. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์มีปากและมีทวารหนัก แต่ทางเดิน อาหารมักจะขดเป็นรูปตัว (U) ในช่องปากมักมีแรดูลา (Radula) ซึ่งเป็นสารจำพวกไคติน (Chitin) ช่วยในการขูดและกินอาหาร (ยกเว้นพวกหอย 2 ฝา ไม่มีแรดูลา) นอกจากนี้ยังมีน้ำย่อยที่สร้างจาก ตับและต่อมน้ำลายช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย
              5. ระบบหายใจ พวกที่อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ส่วนพวกที่อยู่บนบกหายใจด้วยปอด ซึ่ง เปลี่ยนแปลงมาจากช่องของแมนเติลหรืออาจใช้แมนเทิลและผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อการหายใจ
              6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circulatory system) ซึ่งหมายถึงเลือดไม่ได้อยู่ภายในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะเลือดไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัวแล้วจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก หัวใจของพวกมอลลักมี 2-3 ห้องทำหน้าที่รับส่งเลือดในน้ำเลือดมีสารฮีโมไซยานิน (hemocyanin) ซึ่งมีธาตุทองแดง (Cu) เป็นองค์ประกอบอยู่หรือฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ช่วยในการลำเลียงออกซิเจน
              7. ระบบขับถ่าย ประกอบด้วยไต หรือเมตรเนพฟริเดีย 1 คู่ ซึ่งเชื่อมต่อกับช่องลำตัว ท่อของไตจะมีหลายแบบและทำหน้าที่ ในการปล่อยสเปอร์มและไข่
              8. ระบบประสาทโดยทั่วไปประกอบด้วยปมประสาท 3 คู่ คือ ปมประสาทที่หัว (cerebral ganglion) ควบคุมการทำงานของ อวัยวะที่ส่วนหัว ปมประสาทที่เท้า (pedal ganglion) ควบคุมอวัยวะที่ เท้า (foot) และการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ปมประสาทที่อวัยวะภายใน (Visceral ganglion) ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆปมประสาททั้ง 3 ส่วนจะทำงานประสานกัน โดยมีเส้นประสาทเชื่อมโยงจากปมประสาทที่หัวไปยังปมประสาทที่เท้าและอวัยวะภายในด้วย
              9. ระบบสืบพันธุ์ โดยทั่วไปแล้วเป็นสัตว์แยกเพศ ตัวผู้และตัวเมียแยกกันมีบางชนิด เช่น หอยทากเปลี่ยนเพศได้ (protandichermaphrodite) การปฏิสนธิมีทั้งภายนอกและภายใน ร่างกาย โดยทั่วไปแล้วออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นตัว

9. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)  Annelida มาจากภาษาละติน (annullus = little ring) แปลว่า วงแหวนหรือปล้อง หมายถึง หนอนปล้อง สัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดา มีร่างกายที่ประกอบด้วยปล้อง (segment หรือ somite) แต่ละปล้องคล้ายวงแหวนเรียงต่อกันจนตลอดลำตัว และแสดงการเป็นปล้องทั้งภายในและภายนอก เช่นลักษณะกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหมุนเวียนโลหิต อวัยวะขับถ่ายตลอดจนอวัยวะสืบพันธุ์ ต่างก็จัดเป็นชุดซ้ำ ๆ กันตลอดลำตัว และมีเยื่อกั้น (septum) กั้นระหว่างปล้อง ทำให้ช่องตัว ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ด้วย สัตว์ในไฟลัมนี้ที่รู้จักมีประมาณ 15,000 สปีชีส์ มีขนาดยาวน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร จนยาวถึง 3 เมตร พบอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และที่ชื้นแฉะ

 

               ลักษณะที่สำคัญ 
               1. ร่างกายแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) 
               2. เนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ผนังร่างกายประกอบด้วยเอพิเดอร์มิสซึ่งมีชั้นคิวติเคิลบางๆปกคลุมอยู่ ถัดเข้าไปเป็นชั้นกล้ามเนื้อวงกลม (circular muscle ) และกล้ามเนื้อชั้นในเป็นชั้นกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) 
               3. มีรยางค์เป็นแท่งเล็ก ๆ เรียกว่า เดือย (setae) เป็นสารไคติน (citin) เช่นไส้เดือนดิน มีเดือยช่วยในการเคลื่อนที่และการขุดรู ส่วนไส้เดือนทะเลมีเดือยและแผ่นขาหรือพาราโพเดีย (parapodia) ยื่นออกมาทางด้านข้างของลำตัวใช้ในการเคลื่อนที่ แต่ปลิงไม่มีรยางค์ใด ๆ 
               4. มีช่องตัวที่แท้จริง ช่องตัวถูกแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยมีเยื่อกั้น (septum) กั้นช่องตัวไว้ ภายในช่องตัวมีของเหลว (coelomic fluid) บรรจุอยู่ทำให้ร่างกายไม่แฟบ 
               5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์เป็นท่อยาวตลอดร่างกาย 
               6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด (closed circulatory system) น้ำเลือดมีสีแดงเพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่ 
               7. หายใจผ่านทางผิวหนังหรือเหงือก 
               8. ระบบขับถ่ายจะเป็นอวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่า เนฟริเดีย (nephridia) อยู่ทุกปล้อง ๆ ละ 1 คู่ เนฟริเดียจะช่วยขับของเสียออกจากช่องตัวและกระแสโลหิตออกนอกร่างกายทางรูขับถ่าย (nephridiopores) 
               9. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทสมอง (cerebral ganglia) ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (ventral nerve cord) ซึ่งทอดตามยาวของร่างกาย เส้นประสาทใหญ่ทางด้านหลังจะมีปมประสาทประจำปล้อง (segment ganglia) ปล้องละ 1 ปม 
              10. หนอนปล้องบางชนิดเป็นกะเทย (hermaphrodite) แต่มีการปฏิสนธิข้ามตัว เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด พวกนี้มีการเจริญเติบโตโดยไม่ต้องผ่านระยะตัวอ่อน หนอนปล้องบางชนิดมีเพศแยกกัน(dioecious) และการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต้องผ่านระยะตัวอ่อน ที่เรียกว่า โทรโคฟอร์ (trochophore) เช่น แม่เพรียง เพรียงดอกไม้ ด้วยเหตุที่หนอนปล้องมีระยะตัวอ่อนโทรโคฟอร์ เช่นเดียวกับพวกมอลลัสก์ที่อยู่ในทะเล ทำให้นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด