ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์
เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอย2ฝา แมลงสาบ
1. เซลล์แบบยูคาริโอต (eukaryotic cell) คือเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ในไซโทพลาสซึมมีออร์แกนเนลล์ต่างๆ กระจายอยู่
2. ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์ เรียกว่าเซลล์สัตว์ ทำให้เซลล์มีลักษณะอ่อนนุ่มและแตกต่างไปจากเซลล์พืช เซลล์เหล่านี้จะมารวมกันเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งพบว่าเซลล์ในเนื้อเยื่อมักมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน มีการประสานการทำงานระหว่างกัน สัตว์ชั้นสูงมีเนื้อเยื่อหลายชนิดสามารถจำแนกตามหน้าที่และตำแหน่งที่อยู่ของร่างกายเป็น 5 ประเภท คือ เนื้อเยื่อบุผิว(epithelial tissue) เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ(muscular tissue) เนื้อเยื่อลำเลียง (vascular tissue) และเนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue) 3. สร้างอาหารเองไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นการดำรงชีวิตจึงต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหารซึ่งอาจเป็นพืชหรือสัตว์ด้วยกัน การดำรงชีวิตจึงมักเป็นแบบผู้ล่าเหยื่อหรือปรสิตเสมอ
4. โดยทั่วไปเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีบางชนิดพบว่าเมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วเกาะอยู่กับที่
5. โดยส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระบบประสาท มีอวัยวะรับความรู้สึกและตอบสนอง เช่น การกินอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ เป็นต้น
6. ร่างกายสัตว์ต้องมีการกำจัดของเสียที่เกิดจากการเมตาบอลิซึมของเซลล์ ( ได้เเก่ คาร์บอนไดออกไซด์ เเละของเสียไนโตรเจน ) ออกจากร่างกาย สัตว์ขนาดใหญ่จะมีระบบทำหน้าที่เฉพาะ
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวเรียกว่า เอพิเดอร์มิส (Epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นในทำหน้าที่เป็นเยื่อบุทางเดินอาหารเรียกว่า แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นในมีสารซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้น แทรกอยู่เรียกว่าชั้นโซเกลีย (Mesoglea)
3. ทางเดินอาหารเป็นแบบถุงไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนักช่อง ทางเดินอาหารนี้อยู่กลางลำตัวทำหน้าที่เป็นทั้งทางเดินอาหารและ ระบบหมุนเวียน เรียกว่าแกสโทรวาสคูลาร์ คาวิตี (Gastrovascular carvity)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ไฟลัม คือ
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) Porifera มาจากภาษาละติน (porudus + ferre = pore + bearing) หมายถึงสัตว์ที่มีรูพรุน สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ฟองน้ำ (sponge) มีช่องว่างภายในลำตัว (spongocoel) น้ำจะผ่านเข้าทางรูพรุน (ostium) ซึ่งมีอยู่ทั่วตัวสู่ช่องว่างภายในลำตัวและผ่านออกจากตัวทางช่องน้ำไหลออก (osculum) โดยฟองน้ำส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็มพบประมาณ 10, 000 สปีชีส์ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดพบประมาณ 50 สปีชีส
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (Asymmetry)
1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (Asymmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวหรืออิพิเดอร์มีส ส่วนชั้นในประกอบด้วย
เซลล์พิเศษเรียกว่า Choanocyte หรือ Collar cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแฟลกเจลลา 1 เส้นและ มีปลอกคอ (collar) บุอยู่โดยรอบเรียกเซลล์ชั้นนี้ว่า gastral layer
เซลล์พิเศษเรียกว่า Choanocyte หรือ Collar cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแฟลกเจลลา 1 เส้นและ มีปลอกคอ (collar) บุอยู่โดยรอบเรียกเซลล์ชั้นนี้ว่า gastral layer
3. ทางเดินอาการเป็นแบบช่องร่างแห (Channel network) ซึ่งประกอบด้วยรูเปิดเล็กๆ (ostia) ที่บริเวณผิวลำตัวรอบตัว ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าภายในตัวและมีรูขนาดใหญ่ (osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลออกจากตัว
4. ไม่มีระบบหมุนเวียน ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย และระบบประสาทโดยเฉพาะ โดยทั่ว
ไปอาศัยการไหลเวียนของน้ำเป็นกระบวนการสำคัญในกระบวนการเหล่านี้
ไปอาศัยการไหลเวียนของน้ำเป็นกระบวนการสำคัญในกระบวนการเหล่านี้
5. มีโครงร่างภายใน (Endoskeleton) เรียกว่าหนามฟองน้ำ (spicule) ซึ่งมักจะเป็นสารพวกหินปูนหรือแก้ว (silica) บางชนิดมีโครงร่างเป็นพวกใยโปรตีน(spongin) ทำให้ตัว
ฟองน้ำมีลักษณะนุ่มนิ่ม
ฟองน้ำมีลักษณะนุ่มนิ่ม
6. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้างสเปิร์มและไข่ผสมกัน และจะได้ตัวอ่อนที่มีขนซีเลียว่ายน้ำได้ และต่อมาก็หาที่เกาะ
เจริญเป็นฟองน้ำเต็มวัยต่อไป
เจริญเป็นฟองน้ำเต็มวัยต่อไป
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterata) สัตว์ที่อยู่ในไฟลัมนี้ เรียกว่า ซีเลนเทอเรต (Coelenterate) ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล เช่น ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน มีเพียงส่วนน้อยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา แมงกระพรุนน้ำจืด
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวเรียกว่า เอพิเดอร์มิส (Epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นในทำหน้าที่เป็นเยื่อบุทางเดินอาหารเรียกว่า แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นในมีสารซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้น แทรกอยู่เรียกว่าชั้นโซเกลีย (Mesoglea)
3. ทางเดินอาหารเป็นแบบถุงไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนักช่อง ทางเดินอาหารนี้อยู่กลางลำตัวทำหน้าที่เป็นทั้งทางเดินอาหารและ ระบบหมุนเวียน เรียกว่าแกสโทรวาสคูลาร์ คาวิตี (Gastrovascular carvity)
4. มีเข็มพิษหรือเนมาโทซีสต์(Nematocyst)ใช้ในการป้องกันและฆ่า เหยื่อเนมาโทซีสต์มักจะอยู่กันหนาแน่นที่บริเวณหนวด(Tentacle) ซึ่งอยู่รอบปากมากกว่าบริเวณอื่นๆทำให้การหาอาหารและการต่อสู้กับ ศัตรูมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
5. ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายโดยเฉพาะ แต่โดยทั่วไปอาศัยการแพร่ของก๊าซและของเสียต่างๆระหว่างน้ำที่ อยู่รอบๆตัวกับผิวลำตัวโดยตรง หรือมีเซลล์ชนิดพิเศษเช่นเซลล์ ที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร (nutritive cell) ช่วยทำหน้าที่ ย่อยและดูดซึมสามอาหาร เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป
6. ระบบประสาทเป็นแบบข่ายใยประสาท(Nerve net)แผ่กระจายทั่วตัว และหนาแน่นบริเวณหนวดดังนั้นการนำกระแสประสาทจึงเป็นไปใน ลักษณะทุกทิศทุกทางทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้ช้าและมีทิศ ทางไม่แน่นอนซึ่งแตกต่างจากสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ
7. สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างเป็น 2 แบบ คือ รูปร่างแบบต้นไม้เรียกว่า โพลิป (Polyp) เช่น ไฮดรา ปะการังดอกไม้ทะเลและรูร่างคล้ายร่มหรือกระ ดิ่งคว่ำ เรียกว่า เมดูซา(Medusa) ได้แก่แมงกระพรุน
8. การสืบพันธุ์ มีทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศแบบอาศัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มาผสมกันส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศโดยการแตกหน่อหรือการ แบ่งตัว ซีเลนเทอเรตหลายชนิด เช่น แมงกะพรุน โอบีเลียมีการสืบพันธุ์แบบสลับ (Alternative of generation) โดยมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวหรือ แตกหน่อกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มา ผสมกัน สัตว์ในกลุ่มนี้จัดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปะการัง เพราะปะการัง สามารถสร้างโครงร่างภายนอกซึ่งเป็นสารจำพวก หินปูนได้และโครงหินปูนเหล่านี้รวมกันมากๆกลายเป็นแนวหินปะการังซึ่ง ให้ความสวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นที่ท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยวมา ชมปีละมากๆเช่น หินปะการังที่เกาะล้านนอกจากนี้แนวหินปะการังยังมี ความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะแนวหินปะการังเป็นที่อยู่อาศัยที่ หลบภัย ที่หาอาหาร ที่ผสมพันธุ์และการเจริญของตัวอ่อนของสัตว์ทะเล หลายชนิดก็อาศัยแนวหินปะการังเป็นแหล่ง ที่อาศัยและที่เจิญเติบโต ดังนั้นแนวหินปะการังจึงมีสัตว์ต่างๆมาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมซึ่ง ลักษณะอันนี้จัดเป็นระบบนิเวศที่สำคัญและเป็นสมดุลธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากเพราะแนวหินปะการังถูก ทำลายอย่างมาก
5. ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายโดยเฉพาะ แต่โดยทั่วไปอาศัยการแพร่ของก๊าซและของเสียต่างๆระหว่างน้ำที่ อยู่รอบๆตัวกับผิวลำตัวโดยตรง หรือมีเซลล์ชนิดพิเศษเช่นเซลล์ ที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร (nutritive cell) ช่วยทำหน้าที่ ย่อยและดูดซึมสามอาหาร เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป
6. ระบบประสาทเป็นแบบข่ายใยประสาท(Nerve net)แผ่กระจายทั่วตัว และหนาแน่นบริเวณหนวดดังนั้นการนำกระแสประสาทจึงเป็นไปใน ลักษณะทุกทิศทุกทางทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้ช้าและมีทิศ ทางไม่แน่นอนซึ่งแตกต่างจากสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ
7. สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างเป็น 2 แบบ คือ รูปร่างแบบต้นไม้เรียกว่า โพลิป (Polyp) เช่น ไฮดรา ปะการังดอกไม้ทะเลและรูร่างคล้ายร่มหรือกระ ดิ่งคว่ำ เรียกว่า เมดูซา(Medusa) ได้แก่แมงกระพรุน
8. การสืบพันธุ์ มีทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศแบบอาศัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มาผสมกันส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศโดยการแตกหน่อหรือการ แบ่งตัว ซีเลนเทอเรตหลายชนิด เช่น แมงกะพรุน โอบีเลียมีการสืบพันธุ์แบบสลับ (Alternative of generation) โดยมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวหรือ แตกหน่อกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มา ผสมกัน สัตว์ในกลุ่มนี้จัดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปะการัง เพราะปะการัง สามารถสร้างโครงร่างภายนอกซึ่งเป็นสารจำพวก หินปูนได้และโครงหินปูนเหล่านี้รวมกันมากๆกลายเป็นแนวหินปะการังซึ่ง ให้ความสวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นที่ท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยวมา ชมปีละมากๆเช่น หินปะการังที่เกาะล้านนอกจากนี้แนวหินปะการังยังมี ความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะแนวหินปะการังเป็นที่อยู่อาศัยที่ หลบภัย ที่หาอาหาร ที่ผสมพันธุ์และการเจริญของตัวอ่อนของสัตว์ทะเล หลายชนิดก็อาศัยแนวหินปะการังเป็นแหล่ง ที่อาศัยและที่เจิญเติบโต ดังนั้นแนวหินปะการังจึงมีสัตว์ต่างๆมาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมซึ่ง ลักษณะอันนี้จัดเป็นระบบนิเวศที่สำคัญและเป็นสมดุลธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากเพราะแนวหินปะการังถูก ทำลายอย่างมาก
3. ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda) สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่า หนอนตัวกลม(Round worm) หรือเนมาโทด (Nematode)
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรแบบ bilateral symmetry
2. มีช่องว่างในลำตัวแบบเทียม (Pseudocoelomate animal) โดยช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อ ชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นใน ช่องลำตัวเทียม (psudocoelom) หนอนตัวกลมเป็นสัตว์ที่มี ช่องลำตัวเทียม ซึ่งมีการพัฒนาช่องระหว่างผนังลำตัวและท่อทางเดินอาหาร โดยที่เป็นช่องตัวที่เจริญมาจาก blastocoel ของระยะเอมบริโอ ช่องตัวชนิดนี้จะไม่มีเยื่อ peritoneum ซึ่งเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง อวัยวะภายในช่องตัวจึงลอยอย่างอิสระในของเหลว
3. ลำตัวกลมยาว แหลมหัวแหลมท้าย ไม่มีข้อปล้อง ผิวลำตัวเรียบ มีสารคิวติเคิลหนาหุ้มตัว
4. ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด แต่ใช้ของเหลวในช่องว่างเทียมช่วยในการลำเลียงสาร
5. ไม่มีอวัยวะหายใจโดยเฉพาะ พวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน แต่พวกที่อยู่อย่างอิสระใช้ผิวหนังในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
6. ระบบขับถ่ายประกอบด้วยเส้นข้างลำตัว (lateral line) ซึ่งภายในบรรจุท่อขับถ่าย (excretory canal) ไว้
7. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยปากและทวารหนัก
8. มีระบบกล้ามเนื้อยาวตลอดลำตัว 8.ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอยและมีแขนงประสาทแยกออกทางด้านท้องและทางด้านหลัง
9. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอยและมี แขนงประสาทแยกออกทางด้านท้องและทางด้านหลัง
10. เป็นสัตว์แยกเพศ ตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เนื่องจากตัวเมียต้องทำหน้าที่ในการออกไข่
4. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) สัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้เรียกว่าสัตว์ขาข้อ หรืออาร์โทรพอด (Arthropod) ซึ่งหมายถึงมีรยางค์ต่อกัน เป็นข้อๆ สัตว์กลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด ประมาณ1,200,000 ชนิด หรือกว่า 80% ของอาณาจักรสัตว์ พวกอาร์โทรพอดมีความสำพันธ์กับพวกแอนเนลิดมากโดยเจิญมาจากพวกแอนเนลิด
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรแบบผ่าซีก
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และมีช่องตัวแบบแท้งจริง
3. ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง และแบ่งออกเป็นส่วนๆโดยทั่วไปแล้วมี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว(Head) ส่วนอก( Thorax) และส่วนท้อง(Abdomen) เช่นพวกแมลง แต่บางชนิดส่วนหัวและส่วนอกจะรวมกันเป็นส่วนเดียวแยกออกจากกันไม่ได้เรียกว่า เซฟาโลทอแรกซ์ (Cephalothorax) เช่น กุ้ง ปู นอกจากนี้ในพวกกิ้งกือและ ตะขาบส่วนของอกและท้องจะมีลักษณะเหมือนกัน
4. มีรยางค์ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ๆ เช่น ขาเดิน ขาว่ายน้ำ อวัยวะส่วนปาก หนวด ปีก และรยางค์เหล่านี้มักมีลักษณะต่อกันเป็นข้อๆด้วย
5. มีโครงร่างภายนอก (Exoskeleton) เป็นสารจำพวกไคทิน(Chitin) แข็งหุ้มรอบตัว ดังนั้นในขณะที่มีการเจริญเติบโต สัตว์ในไฟลัมนี้หลายชนิดจึงต้องมีการลอกคราบ (Molting) เพื่อเอาเปลือกเก่าซึ่งมีขนาดเล็กออกเล็กแล้วสร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าขึ้นมาแทน
6. ทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์ มีปากและทวารหนัก สำหรับส่วนปากมีอวัยวะที่ช่วยในการกินอาหารและมีการดัดแปลงไปเพื่อให้เหมาะสมกับ สภาพของอาหาร เช่นมีปากแบบกัดกิน ดูดกิน เจาะดูด เป็นต้น
7. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circutory sysytem) โดยเลือดเมื่อออกจากหัวใจเทียม (Pseudoheart) แล้วจะไหลไปตามเส้นเลือด ต่อจากนั้นจะไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัว (Hemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก จะเห็นได้ว่าเลือดไม่ได้อยู่ภายในหัวใจและเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะที่เลืออดไหลออกมาอยู่นอกเส้นเลือด จึงเรียกระบบการหมุนเวียนแบบนี้ว่า ระบบเปิด นอกจากนี้ สัตว์กลุ่มนี้อามีเลือดเป็นสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสีเนื่องจากสาร เฮโมไซยานิน (Hemocyanin) เป็นองค์ประกอบหรือมีสีแดงเนื่องจากเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นองค์ประกอบ
8. มีระบบขับถ่ายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่ม เช่น แมลงมี มัลพีเกียน ทูบูล (Malpighain tuble) ซึ่งเป็นท่ออยู่ที่ทางเดินอาหารเป็นอวัยวะขับถ่าย กุ้งมีกรีนแกลนด์ หรือต่อมเขียว (Green gland) ที่โคนหนวดทำหน้าที่ขับถ่าย
9. ระบบหายใจประกอบด้วยอวัยวะหาบใจหลายชนิดในพวกที่อยู่ในน้ำเช่น พวกกุ้ง ปู หายใจด้วยเหงือก (Gill) พวกแมลงหายใจได้ด้วยระบบท่อลม (Tracheal system) ที่แทรกอยู่ทั้งตัว แมงมุมหายใจด้วยบุคลัง (Book lung) ที่บริเวณส่วนท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆซ้อนกันอยู่หลายชั้นเป็นต้น
10. ระบบประสาทมีปมประสาทที่หัว 1 คู่ และมีเส้นประสาททางด้านท้อง (Ventral nerver cord) ทอดไปตามความยาวของลำตัว 1 คู่และมีอวัยวะสัมผัสเจริญดี เช่น ตาเดี่ยว ตาประกอบ หนวด ขาสัมผัสเป็นต้น
11. ระบบสืบพันธุ์เป็นสัตว์แยกเพศ มักมีการปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นไข่ที่มีไข่แดงมาก ในขณะที่มีการเจิญเติบโตมักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปด้วย
1. มีสมมาตรแบบผ่าซีก
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และมีช่องตัวแบบแท้งจริง
3. ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง และแบ่งออกเป็นส่วนๆโดยทั่วไปแล้วมี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว(Head) ส่วนอก( Thorax) และส่วนท้อง(Abdomen) เช่นพวกแมลง แต่บางชนิดส่วนหัวและส่วนอกจะรวมกันเป็นส่วนเดียวแยกออกจากกันไม่ได้เรียกว่า เซฟาโลทอแรกซ์ (Cephalothorax) เช่น กุ้ง ปู นอกจากนี้ในพวกกิ้งกือและ ตะขาบส่วนของอกและท้องจะมีลักษณะเหมือนกัน
4. มีรยางค์ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ๆ เช่น ขาเดิน ขาว่ายน้ำ อวัยวะส่วนปาก หนวด ปีก และรยางค์เหล่านี้มักมีลักษณะต่อกันเป็นข้อๆด้วย
5. มีโครงร่างภายนอก (Exoskeleton) เป็นสารจำพวกไคทิน(Chitin) แข็งหุ้มรอบตัว ดังนั้นในขณะที่มีการเจริญเติบโต สัตว์ในไฟลัมนี้หลายชนิดจึงต้องมีการลอกคราบ (Molting) เพื่อเอาเปลือกเก่าซึ่งมีขนาดเล็กออกเล็กแล้วสร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าขึ้นมาแทน
6. ทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์ มีปากและทวารหนัก สำหรับส่วนปากมีอวัยวะที่ช่วยในการกินอาหารและมีการดัดแปลงไปเพื่อให้เหมาะสมกับ สภาพของอาหาร เช่นมีปากแบบกัดกิน ดูดกิน เจาะดูด เป็นต้น
7. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circutory sysytem) โดยเลือดเมื่อออกจากหัวใจเทียม (Pseudoheart) แล้วจะไหลไปตามเส้นเลือด ต่อจากนั้นจะไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัว (Hemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก จะเห็นได้ว่าเลือดไม่ได้อยู่ภายในหัวใจและเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะที่เลืออดไหลออกมาอยู่นอกเส้นเลือด จึงเรียกระบบการหมุนเวียนแบบนี้ว่า ระบบเปิด นอกจากนี้ สัตว์กลุ่มนี้อามีเลือดเป็นสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสีเนื่องจากสาร เฮโมไซยานิน (Hemocyanin) เป็นองค์ประกอบหรือมีสีแดงเนื่องจากเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นองค์ประกอบ
8. มีระบบขับถ่ายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่ม เช่น แมลงมี มัลพีเกียน ทูบูล (Malpighain tuble) ซึ่งเป็นท่ออยู่ที่ทางเดินอาหารเป็นอวัยวะขับถ่าย กุ้งมีกรีนแกลนด์ หรือต่อมเขียว (Green gland) ที่โคนหนวดทำหน้าที่ขับถ่าย
9. ระบบหายใจประกอบด้วยอวัยวะหาบใจหลายชนิดในพวกที่อยู่ในน้ำเช่น พวกกุ้ง ปู หายใจด้วยเหงือก (Gill) พวกแมลงหายใจได้ด้วยระบบท่อลม (Tracheal system) ที่แทรกอยู่ทั้งตัว แมงมุมหายใจด้วยบุคลัง (Book lung) ที่บริเวณส่วนท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆซ้อนกันอยู่หลายชั้นเป็นต้น
10. ระบบประสาทมีปมประสาทที่หัว 1 คู่ และมีเส้นประสาททางด้านท้อง (Ventral nerver cord) ทอดไปตามความยาวของลำตัว 1 คู่และมีอวัยวะสัมผัสเจริญดี เช่น ตาเดี่ยว ตาประกอบ หนวด ขาสัมผัสเป็นต้น
11. ระบบสืบพันธุ์เป็นสัตว์แยกเพศ มักมีการปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นไข่ที่มีไข่แดงมาก ในขณะที่มีการเจิญเติบโตมักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปด้วย
5. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) จากที่คาดว่าโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตมากกว่า 50 ล้านชนิด เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อแล้ว 1.7 ล้านชนิด เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง 43,853 ชนิด ชนิด ที่พบได้ในประเทศไทยและตั้งชื่อแล้ว 4,094 ชนิด นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก และมนุษย์อย่างยิ่ง
สิ่งมีชีวิตในไฟลัมคอร์ดาตาทั้งหมดเป็นสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เองและต้องการใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน พวกคอร์เดตโดยทั่วไปจะมีบางลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่บางลักษณะก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilaterally symmetrical) ร่างกายมีลักษณะเป็นปล้อง และมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น การเกิดช่องตัวเป็นแบบเอนทีโรซีลา (enterocoela) เช่นเดียวกับพวกเอคไคโนเดิร์ม (เป็น Deuterostromes เช่นเดียวกับเอคไคโนเดิร์ม) มีระบบอวัยวะที่แบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบปิดโดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย และมีเพศแยกกันเป็นต้น
ลักษณะที่สำคัญ
1. การมีโนโตคอร์ด (notochord) พวกคอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโนโตคอร์ดอย่างน้อยช่วงหนึ่งของชีวิต พวกคอร์เดตชั้นต่ำ เช่น แอมฟิออกซัสจะมีโนโตคอร์ด ตลอดชีวิต พวกคอร์เดตชั้นสูงเช่นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีโนโตคอร์ดในระยะตัวอ่อนเท่านั้น พอเจริญเติบโตจะเกิดกระดูกสันหลังขึ้นมาแทนที่โนโตคอร์ด ลักษณะของโนโตคอร์ดจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์ม ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ค่อนข้างอ่อนคล้ายวุ้น แต่มีเปลือกหุ้ม (sheath) หุ้มอีกชั้นทำให้มีลักษณะเป็นแท่งแข็งแรง แต่ยืดหยุ่นได้ดี และไม่แบ่งเป็นปล้อง แท่งโนโตคอร์ดเป็นโครงสร้างค้ำจุนที่อยู่ทางด้านหลังใต้ระบบประสาทส่วนกลางแต่อยู่เหนือทางเดินอาหาร notochord = a rod-shaped supporting axis, or backbone
2. การมีช่องเหงือก (pharyngeal gill slits) คอร์เดตทุกชนิดโดยเฉพาะพวกที่อยู่ในน้ำจะมีช่องเหงือกตลอดชีวิต ส่วนพวกที่อาศัยอยู่บนบกจะพบช่องเหงือกในระยะตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ช่องเหงือกจะปิดซึ่งอาจจะพบร่องรอยเพียงเล็กน้อย (ในคนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นท่อยูสเตเชียนเชื่อมระหว่างหูส่วนกลางกับหลอดลมบริเวณคอ) การเกิดช่องเหงือกจะเกิดขึ้นในบริเวณคอหอยของตัวอ่อน โดยบริเวณคอหอยจะโป่งออกไปนอกผิวตัวทางด้านข้างและมีรอยแตกเป็นช่องเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะหายใจ พวกแอมฟิออกซัส ปลาปากกลม ปลาฉลาม ตลอดจนปลากระดูกแข็งจะดูดน้ำเข้าทางปากและผ่านออกทางช่องเหงือก ทำให้เกิดการหายใจขึ้น พวกสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่บนบกและหายใจด้วยปอดจะมีช่องเหงือกในระยะตัวอ่อน และ (อาจจะ) ทำหน้าที่หายใจในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
3. การมีระบบประสาทด้านหลัง (Dorsal Hollow Nerve Cord) คอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโครงสร้างนี้ตลอดชีวิตมีลักษณะเป็นท่อยาวตลอดลำตัวทางด้านหลัง เส้นประสาททางด้านหัวอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นสมอง ส่วนทางด้านท้ายเจริญเป็นไขสันหลัง (spinal cord) การเกิดระบบประสาทนี้เกิดขึ้นในระยะตัวอ่อน โดยการม้วนตัวเข้าหากันของเนื้อเยื่อชั้นเอคโตเดิร์มทางด้านหลังกลายเป็นท่อฝังอยู่ใต้ผิวหนัง
1. การมีโนโตคอร์ด (notochord) พวกคอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโนโตคอร์ดอย่างน้อยช่วงหนึ่งของชีวิต พวกคอร์เดตชั้นต่ำ เช่น แอมฟิออกซัสจะมีโนโตคอร์ด ตลอดชีวิต พวกคอร์เดตชั้นสูงเช่นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีโนโตคอร์ดในระยะตัวอ่อนเท่านั้น พอเจริญเติบโตจะเกิดกระดูกสันหลังขึ้นมาแทนที่โนโตคอร์ด ลักษณะของโนโตคอร์ดจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์ม ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ค่อนข้างอ่อนคล้ายวุ้น แต่มีเปลือกหุ้ม (sheath) หุ้มอีกชั้นทำให้มีลักษณะเป็นแท่งแข็งแรง แต่ยืดหยุ่นได้ดี และไม่แบ่งเป็นปล้อง แท่งโนโตคอร์ดเป็นโครงสร้างค้ำจุนที่อยู่ทางด้านหลังใต้ระบบประสาทส่วนกลางแต่อยู่เหนือทางเดินอาหาร notochord = a rod-shaped supporting axis, or backbone
2. การมีช่องเหงือก (pharyngeal gill slits) คอร์เดตทุกชนิดโดยเฉพาะพวกที่อยู่ในน้ำจะมีช่องเหงือกตลอดชีวิต ส่วนพวกที่อาศัยอยู่บนบกจะพบช่องเหงือกในระยะตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ช่องเหงือกจะปิดซึ่งอาจจะพบร่องรอยเพียงเล็กน้อย (ในคนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นท่อยูสเตเชียนเชื่อมระหว่างหูส่วนกลางกับหลอดลมบริเวณคอ) การเกิดช่องเหงือกจะเกิดขึ้นในบริเวณคอหอยของตัวอ่อน โดยบริเวณคอหอยจะโป่งออกไปนอกผิวตัวทางด้านข้างและมีรอยแตกเป็นช่องเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะหายใจ พวกแอมฟิออกซัส ปลาปากกลม ปลาฉลาม ตลอดจนปลากระดูกแข็งจะดูดน้ำเข้าทางปากและผ่านออกทางช่องเหงือก ทำให้เกิดการหายใจขึ้น พวกสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่บนบกและหายใจด้วยปอดจะมีช่องเหงือกในระยะตัวอ่อน และ (อาจจะ) ทำหน้าที่หายใจในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
3. การมีระบบประสาทด้านหลัง (Dorsal Hollow Nerve Cord) คอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโครงสร้างนี้ตลอดชีวิตมีลักษณะเป็นท่อยาวตลอดลำตัวทางด้านหลัง เส้นประสาททางด้านหัวอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นสมอง ส่วนทางด้านท้ายเจริญเป็นไขสันหลัง (spinal cord) การเกิดระบบประสาทนี้เกิดขึ้นในระยะตัวอ่อน โดยการม้วนตัวเข้าหากันของเนื้อเยื่อชั้นเอคโตเดิร์มทางด้านหลังกลายเป็นท่อฝังอยู่ใต้ผิวหนัง
6. ไฟลัมเอชิโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata) (Greek Roots ; Echinos=spiny + Derma=Skin + Ata=to Bear)สัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้เป็นสัตว์ที่มีผิวลำตัวขรุขระเรียกว่าพวกเอคไคโนเดิร์ม(Echinoderm) มีลักษณะสำคัญดังนี้
ลักษณะที่สำคัญ
1. มีสมมาตรเป็น 2 แบบ คือ เมื่อเป็นตัวอ่อนมีสมมาตรเป็นแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry) แต่เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยมีสมมาตรเป็นแบบรัศมี (Radial symmetry)
1. มีสมมาตรเป็น 2 แบบ คือ เมื่อเป็นตัวอ่อนมีสมมาตรเป็นแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry) แต่เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยมีสมมาตรเป็นแบบรัศมี (Radial symmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นนอกประกอบด้วยผิวที่ขรุขระ ภายในมีโครงร่าง (endoskeleton) เป็นชิ้นหินปูนขนาดเล็กต่อกัน ทำให้เคลื่อนไหวได้บางชนิดเป็นแผ่นแข็ง ทำให้เคลื่อนไหว ไม่ได้ โครงร่างภายในนี้เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm)
3. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยปากและทวารหนัก ยกเว้นบางชนิด เช่น ดาวเปราะ (brittle star) มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก
4. มีระบบทางเดินน้ำ (Water vascular system) อยู่ภายในลำตัวและมีเท้าท่อ (tube feet) ช่วยในการเคลื่อนที่โดยการประสานการทำงานของเท้าท่อและระบบน้ำเข้าด้วยกัน
5. ระบบหมุนเวียนไม่ค่อยเจริญมากนัก มีเหงือกที่ผิวลำตัว (Dermal branchia) ช่วยในการหายใจ
6. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวนรอบปากและมีข่ายใยประสาท (nerve net) แพร่กระจายทั่วตัวรวมทั้งแทรกเข้าไปในแฉกด้วย
7. เป็นสัตว์แยกเพศและมีอวัยวะสืบพันธุ์เจริญดีมาก มีการปฏิสนธิภายนอกตัวและมีการ เจริญเป็นตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยเป็นอย่างมาก
8. สัตว์ในไฟลัมนี้อาศัยอยู่ในทะเลทั้งหมด
7. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes) Platyhelminthes มาจากภาษากรีก (platy + helminth = flat worm) หมายถึงหนอนที่มีลำตัวแบน ได้แก่พวกหนอนตัวแบน ชื่อสามัญ flat worm มีทั้งที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ เรียกหนอนตัวแบน และพวกที่เป็นพยาธิในสัตว์อื่น เรียกพยาธิตัวแบน โดยสัตว์ในไฟลัมนี้อาศัยอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และบริเวณพื้นดินที่มีชื้นสูง พบประมาณ 20,000 สปีชีส์
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
2. ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animal) เนื่องจากเนื้อเยื่อชั้นกลางมีเนื้อเยื่อหยุ่นๆบรรจุอยู่เต็มไปหมด
3. ไม่มีข้อปล้อง แต่บางชนิด เช่น พยาธิตัวตืด มีข้อปล้องแต่เป็นข้อปล้องที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ ผิวลำตัวเท่านั้น
4. พวกที่ดำรงชีวิตแบบพยาธิ (Parasitic type)จะมีสารคิวติเคิล(cuticle)ซึ่งสร้างจากเซลล์ที่ผิวของลำตัวหุ้มตัวเพื่อป้องกัน อันตรายซึ่งจะเกิดจากน้ำย่อยของผู้ที่มันเป็นปรสิตอยู่ (Host) ทำอันตราย แต่ในพวกที่ดำรงชีพแบบอิสระ(Free living type) จะไม่มีสารคิวติเคิล
หุ้ม แต่จะ มีเมือกลื่นๆแทนเพื่อช่วยให้เคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น
หุ้ม แต่จะ มีเมือกลื่นๆแทนเพื่อช่วยให้เคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น
5. ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง
6. ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจโดยเฉพาะ ในพวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic respiration) ส่วนในพวกที่ดำรงชีวิตแบบอิสระ หายใจแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration) โดยใช้ผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
7. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก และทางเดินอาหารแตกแขนงออกเป็น 2-3 แฉก ในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร
8. ระบบระบบขับถ่ายใช้เซลล์ชนิดพิเศษเรียก เฟลมเซลล์ (Flame cell)ซึ่งแทรกอยู่ทั่วลำตัว ทำหน้าที่สกัดของเสียและขับของเสียออกทางท่อที่อยู่ 2 ข้างลำตัว (Excretory canal)
9. มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปทางด้านข้างของลำตัว
10. ระบบสืบพันธุ์ จัดเป็นพวกกระเทย (Hermaprodite) คือมีทั้ง 2 เพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ในตัวเอง (self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (cross
fertilization)
fertilization)
8. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) Mollusca มาจากภาษาละติน (molluscus = soft) แปลว่า นิ่ม หมายถึงลำตัวนิ่ม จึงเรียกสัตว์ลำตัวนิ่ม ซึ่งมักจะมีเปลือก (shell) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง เป็นสารพวกแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) หรือบางชนิดเปลือกก็ลดรูปไปเป็นโครงร่างที่อยู่ภายในร่างกาย ช่องลำตัว (coelom)ตั้งแต่ยุคพรีแคมเบรียนที่ผ่านมา สัตว์ที่มีโครงสร้างของร่างกายที่ซับซ้อนที่สุด ได้แก่ พวกที่ไม่มีช่องตัว แต่มันจะประสบปัญหา ในการหาอาหารจากพื้นผิวที่เหยื่อฝังตัวอยู่ ดังนั้นสัตว์ใด ๆ ที่สามารถปรับตัวให้สามารถใช้ร่างกายให้เป็นประโยชน์มากที่สุดในการล่าเหยื่อ สัตว์เหล่านั้นก็จะประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่นในกลุ่มที่มีของเหลวภายในร่างกายบรรจุอยู่ในช่องว่างของลำตัว จะทำให้ร่างกาย มีโครงร่างค้ำจุนชนิดที่เป็นของเหลว ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพสัตว์ยุคโบราณมีการปรับตัว โดยที่มีของเหลวเข้าไปบรรจุอยู่ในช่องลำตัวในเนื้อเยื่อชั้นกลาง ซึ่งหมายถึงช่องว่างนี้ถูกบุด้วยเยื่อชั้นกลางที่จะกลายเป็นเยื่อบุช่องท้อง การพัฒนาขอ งช่องตัวนี้ นับเป็นก้าวใหญ่ของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากพวกที่มีช่องลำตัวเทียมกลายมาเป็นพวกที่มีช่องตัวแบบต่าง ๆ ในที่สุด
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ช่องตัวเป็นแบบแท้จริง (Eucoelomate animal)
3. ลำตัวอ่อนนุ่มไม่มีปล้องโดยทั่วไปแล้วมีแมนเทิล (mantle) ทำหน้าที่ในการสร้างเปลือกซึ่งเป็นสารจำพวกหินปูน (CaCO3) แต่บางชนิดอาจไม่มีเปลือกเช่น พวกทากทะเล
4. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์มีปากและมีทวารหนัก แต่ทางเดิน อาหารมักจะขดเป็นรูปตัว (U) ในช่องปากมักมีแรดูลา (Radula) ซึ่งเป็นสารจำพวกไคติน (Chitin) ช่วยในการขูดและกินอาหาร (ยกเว้นพวกหอย 2 ฝา ไม่มีแรดูลา) นอกจากนี้ยังมีน้ำย่อยที่สร้างจาก ตับและต่อมน้ำลายช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย
5. ระบบหายใจ พวกที่อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ส่วนพวกที่อยู่บนบกหายใจด้วยปอด ซึ่ง เปลี่ยนแปลงมาจากช่องของแมนเติลหรืออาจใช้แมนเทิลและผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อการหายใจ
6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circulatory system) ซึ่งหมายถึงเลือดไม่ได้อยู่ภายในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะเลือดไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัวแล้วจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก หัวใจของพวกมอลลักมี 2-3 ห้องทำหน้าที่รับส่งเลือดในน้ำเลือดมีสารฮีโมไซยานิน (hemocyanin) ซึ่งมีธาตุทองแดง (Cu) เป็นองค์ประกอบอยู่หรือฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ช่วยในการลำเลียงออกซิเจน
7. ระบบขับถ่าย ประกอบด้วยไต หรือเมตรเนพฟริเดีย 1 คู่ ซึ่งเชื่อมต่อกับช่องลำตัว ท่อของไตจะมีหลายแบบและทำหน้าที่ ในการปล่อยสเปอร์มและไข่
8. ระบบประสาทโดยทั่วไปประกอบด้วยปมประสาท 3 คู่ คือ ปมประสาทที่หัว (cerebral ganglion) ควบคุมการทำงานของ อวัยวะที่ส่วนหัว ปมประสาทที่เท้า (pedal ganglion) ควบคุมอวัยวะที่ เท้า (foot) และการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ปมประสาทที่อวัยวะภายใน (Visceral ganglion) ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆปมประสาททั้ง 3 ส่วนจะทำงานประสานกัน โดยมีเส้นประสาทเชื่อมโยงจากปมประสาทที่หัวไปยังปมประสาทที่เท้าและอวัยวะภายในด้วย
9. ระบบสืบพันธุ์ โดยทั่วไปแล้วเป็นสัตว์แยกเพศ ตัวผู้และตัวเมียแยกกันมีบางชนิด เช่น หอยทากเปลี่ยนเพศได้ (protandichermaphrodite) การปฏิสนธิมีทั้งภายนอกและภายใน ร่างกาย โดยทั่วไปแล้วออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นตัว
9. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) Annelida มาจากภาษาละติน (annullus = little ring) แปลว่า วงแหวนหรือปล้อง หมายถึง หนอนปล้อง สัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดา มีร่างกายที่ประกอบด้วยปล้อง (segment หรือ somite) แต่ละปล้องคล้ายวงแหวนเรียงต่อกันจนตลอดลำตัว และแสดงการเป็นปล้องทั้งภายในและภายนอก เช่นลักษณะกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหมุนเวียนโลหิต อวัยวะขับถ่ายตลอดจนอวัยวะสืบพันธุ์ ต่างก็จัดเป็นชุดซ้ำ ๆ กันตลอดลำตัว และมีเยื่อกั้น (septum) กั้นระหว่างปล้อง ทำให้ช่องตัว ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ด้วย สัตว์ในไฟลัมนี้ที่รู้จักมีประมาณ 15,000 สปีชีส์ มีขนาดยาวน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร จนยาวถึง 3 เมตร พบอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และที่ชื้นแฉะ
ลักษณะที่สำคัญ
1. ร่างกายแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
2. เนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ผนังร่างกายประกอบด้วยเอพิเดอร์มิสซึ่งมีชั้นคิวติเคิลบางๆปกคลุมอยู่ ถัดเข้าไปเป็นชั้นกล้ามเนื้อวงกลม (circular muscle ) และกล้ามเนื้อชั้นในเป็นชั้นกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle)
3. มีรยางค์เป็นแท่งเล็ก ๆ เรียกว่า เดือย (setae) เป็นสารไคติน (citin) เช่นไส้เดือนดิน มีเดือยช่วยในการเคลื่อนที่และการขุดรู ส่วนไส้เดือนทะเลมีเดือยและแผ่นขาหรือพาราโพเดีย (parapodia) ยื่นออกมาทางด้านข้างของลำตัวใช้ในการเคลื่อนที่ แต่ปลิงไม่มีรยางค์ใด ๆ
4. มีช่องตัวที่แท้จริง ช่องตัวถูกแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยมีเยื่อกั้น (septum) กั้นช่องตัวไว้ ภายในช่องตัวมีของเหลว (coelomic fluid) บรรจุอยู่ทำให้ร่างกายไม่แฟบ
5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์เป็นท่อยาวตลอดร่างกาย
6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด (closed circulatory system) น้ำเลือดมีสีแดงเพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่
7. หายใจผ่านทางผิวหนังหรือเหงือก
8. ระบบขับถ่ายจะเป็นอวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่า เนฟริเดีย (nephridia) อยู่ทุกปล้อง ๆ ละ 1 คู่ เนฟริเดียจะช่วยขับของเสียออกจากช่องตัวและกระแสโลหิตออกนอกร่างกายทางรูขับถ่าย (nephridiopores)
9. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทสมอง (cerebral ganglia) ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (ventral nerve cord) ซึ่งทอดตามยาวของร่างกาย เส้นประสาทใหญ่ทางด้านหลังจะมีปมประสาทประจำปล้อง (segment ganglia) ปล้องละ 1 ปม
10. หนอนปล้องบางชนิดเป็นกะเทย (hermaphrodite) แต่มีการปฏิสนธิข้ามตัว เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด พวกนี้มีการเจริญเติบโตโดยไม่ต้องผ่านระยะตัวอ่อน หนอนปล้องบางชนิดมีเพศแยกกัน(dioecious) และการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต้องผ่านระยะตัวอ่อน ที่เรียกว่า โทรโคฟอร์ (trochophore) เช่น แม่เพรียง เพรียงดอกไม้ ด้วยเหตุที่หนอนปล้องมีระยะตัวอ่อนโทรโคฟอร์ เช่นเดียวกับพวกมอลลัสก์ที่อยู่ในทะเล ทำให้นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
1. ร่างกายแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
2. เนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ผนังร่างกายประกอบด้วยเอพิเดอร์มิสซึ่งมีชั้นคิวติเคิลบางๆปกคลุมอยู่ ถัดเข้าไปเป็นชั้นกล้ามเนื้อวงกลม (circular muscle ) และกล้ามเนื้อชั้นในเป็นชั้นกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle)
3. มีรยางค์เป็นแท่งเล็ก ๆ เรียกว่า เดือย (setae) เป็นสารไคติน (citin) เช่นไส้เดือนดิน มีเดือยช่วยในการเคลื่อนที่และการขุดรู ส่วนไส้เดือนทะเลมีเดือยและแผ่นขาหรือพาราโพเดีย (parapodia) ยื่นออกมาทางด้านข้างของลำตัวใช้ในการเคลื่อนที่ แต่ปลิงไม่มีรยางค์ใด ๆ
4. มีช่องตัวที่แท้จริง ช่องตัวถูกแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยมีเยื่อกั้น (septum) กั้นช่องตัวไว้ ภายในช่องตัวมีของเหลว (coelomic fluid) บรรจุอยู่ทำให้ร่างกายไม่แฟบ
5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์เป็นท่อยาวตลอดร่างกาย
6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด (closed circulatory system) น้ำเลือดมีสีแดงเพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่
7. หายใจผ่านทางผิวหนังหรือเหงือก
8. ระบบขับถ่ายจะเป็นอวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่า เนฟริเดีย (nephridia) อยู่ทุกปล้อง ๆ ละ 1 คู่ เนฟริเดียจะช่วยขับของเสียออกจากช่องตัวและกระแสโลหิตออกนอกร่างกายทางรูขับถ่าย (nephridiopores)
9. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทสมอง (cerebral ganglia) ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (ventral nerve cord) ซึ่งทอดตามยาวของร่างกาย เส้นประสาทใหญ่ทางด้านหลังจะมีปมประสาทประจำปล้อง (segment ganglia) ปล้องละ 1 ปม
10. หนอนปล้องบางชนิดเป็นกะเทย (hermaphrodite) แต่มีการปฏิสนธิข้ามตัว เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด พวกนี้มีการเจริญเติบโตโดยไม่ต้องผ่านระยะตัวอ่อน หนอนปล้องบางชนิดมีเพศแยกกัน(dioecious) และการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต้องผ่านระยะตัวอ่อน ที่เรียกว่า โทรโคฟอร์ (trochophore) เช่น แม่เพรียง เพรียงดอกไม้ ด้วยเหตุที่หนอนปล้องมีระยะตัวอ่อนโทรโคฟอร์ เช่นเดียวกับพวกมอลลัสก์ที่อยู่ในทะเล ทำให้นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด